17 กันยายน 2551

Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 2)


เรามาดูเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบเป็นอาคารสำหรับการทำไร่บนตึกกันนะครับ
  • เรื่องพลังงาน อาคารที่ใช้ทำไร่นั้นจะอาศัยพลังงานหมุนเวียนครับ แผง Solar Cell ที่อยู่เหนือยอดตึก ซึ่งสามารถที่จะหมุนตามดวงอาฑิตย์ได้ กังหันลมจะดักลมเพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า พืชผักเหลือทิ้ง หรือ มูลสัตว์ที่เลี้ยงในอาคาร จะถูกนำมาทำพลังงานชีวมวล

  • รูปทรงของอาคาร ต้องเป็นทรงกระบอก เพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด กระจกของอาคารถูกเคลือบด้วย Titania เป็นกระจกที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ จะใสปิ๊งตลอดเวลา

  • อาคารทำไร่ จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ Smart Farm ซึ่งจะทำให้อาคารนี้ทำการเพาะปลูกพืช 24 ชั่วโมง ทั้งปีโดยไม่มีวันหยุด โดยจะมีเซ็นเซอร์ตรวจสภาพแวดล้อม ตรวจการเจริญเติบโตของพืช ตรวจจับแมลง ตรวจจับความสุก ซึ่งสามารถเฝ้าดูจากหน้าจอมอนิเตอร์ของฟาร์ม

  • พืชพรรณที่ปลูกสามารถปลูกได้เกือบทุกอย่าง ทั้งผัก ผลไม้ ธัญพืช สามารถเลี้ยงปลา ไก่ หมู ได้ ศาสตราจารย์ Dickson Despommier แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ออกแบบให้อาคารทำไร่นี้ 1 อาคาร สามารถเลี้ยงประชากรได้ 50,000 คน พืชที่ปลูกนั้นจะไม่ใช้ดิน โดยการจุ๋มรากในน้ำ หรือ ในอากาศ (แล้วสเปรย์ความชื้นกับสารอาหารให้) ทำให้สามารถใช้พื้นที่ปลูกแบบ 3 มิติได้ คือสามารถเรียงแปลกปลูกซ้อนๆ กันได้ ต่างจากเกษตรแบบเก่าที่ทำการเพราะปลูกได้เพียง 2 มิติ

  • น้ำที่เกิดจากการคายน้ำของพืชจะมีความบริสุทธิ์สูง เราสามารถเก็บน้ำที่เกิดจากการคายน้ำโดยการใช้ Moisture Collector ซึ่งจะนำน้ำมารวมกัน บรรจุขวดขายได้ เป็นน้ำจากการคายน้ำของพืช ซึ่งจะมีแบรนด์ที่คนสนใจดื่ม ศาสตราจารย์ Dickson Despommier ประมาณว่าในปีหนึ่งๆ อาคารนี้สามารถผลิตน้ำดื่มได้ 300 ล้านลิตร
  • น้ำเสียต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมในอาคารนี้ สามารถกรอง และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรดน้ำพืชได้ ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกาทิ้งน้ำที่บำบัดแล้ว ลงแม่น้ำลำคลองไปเปล่าๆ วันละ 7 พันล้านลิตร การมีระบบหมุนเวียนน้ำ จะทำให้อาคารนี้ผลิตของเสียน้อยมาก และใช้น้ำจากการประปาน้อยลง