ข่าวคราว ความเคลื่อนไหวต่างๆ ด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะทั่วโลก ความรู้และวิทยาการด้าน Smart Farm และ เกษตรกรรมความแม่นยำสูง มาพบกับท่านที่นี่ ทุกวัน มาช่วยกันพัฒนาเกษตรกรรมของไทยให้เป็น ประเทศแห่งเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm Nation)
11 พฤศจิกายน 2561
กระแสซูเปอร์มาร์เก็ตปลูกผักเองในห้าง มาแน่ .. แนะ เกษตรกรรีบปรับตัวด่วน !!
ธุรกิจในยุคแห่งดิสรัปชั่น (Disruption) ไม่มีอาชีพไหนมั่นคง หรือ ไม่ต้องการปรับตัว .. ห้างค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ต้องปรับตัว และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาอัพเกรดตัวเองอยู่เรื่อยๆ ครับ ซึ่งนอกจากซูเปอร์มาร์เก็ตจะนำเรื่อง อี-คอมเมิร์ซ ให้ลูกค้าสั่งของออนไลน์ มีบริการส่งสินค้าถึงบ้าน มีการนำระบบอัตโนมัติ การประหยัดพลังงานด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ... ยังมีกระแสที่ห้างเหล่านั้น จะเริ่มปลูกพืชผักเพื่อขายหรือใช้เองในห้างมากขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุด ! สตาร์ทอัพปลูกผักในร่มที่ชื่อว่า InFarm ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมัน ได้ร่วมกับห้างค้าปลีก Metro ของฝรั่งเศส เพื่อติดตั้งโรงงานปลูกพืชผักในร่มในห้างค้าปลีกสาขาต่างๆ ทั่วนครปารีส .. หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตในนครเบอร์ลินจำนวน 50 แห่ง ได้หันมาใช้ระบบปลูกผักแบบนี้ ในห้างของตัวเองกันแล้ว และเป็นที่พึงพอใจทั้งตัวห้างเอง และ ลูกค้าที่มาซื้อผัก เนื่องจากจะได้ผักใหม่ๆ สดๆ สะอาดปลอดภัย ระบบปลูกผักในห้างนี้ สามารถดูแลตัวเองได้ โดยแทบจะไม่ต้องใช้คนดูแลอีกเลยหลังจากนำมาปลูกในระบบแล้ว ซึ่งจะมีเซนเซอร์ต่างๆ คอยเก็บข้อมูล และเฝ้ามอง
หลังจากประสบความสำเร็จในการขยายฟาร์มปลูกผักในห้างที่ นครปารีส แล้ว ทางบริษัทวางแผนจะรุกคืบต่อไปที่ นครซูริค ของสวิตเซอร์แลนด์ และ นครลอนดอน ของอังกฤษ
ทั้งนี้ InFarm ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหภาพยุโรปจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 80 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการทำการวิจัยและพัฒนาระบบปลูกพืชผักในร่ม และล่าสุดเพิ่งได้เงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 800 ล้านบาท จากกองทุนร่วมลงทุนของเอกชน เพื่อที่จะขยายระบบปลูกไปยัง ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างๆ ทั่วยุโรปให้ครบ 1,000 แห่ง ภายในปี ค.ศ. 2019
ถ้าการปลูกพืชผักในร่มขยายสเกลไปทั่วยุโรป ก็อาจจะมีผลต่อการส่งออกพืชผักจากประเทศไทยไปยุโรป ก็เป็นได้ ?!?
การที่ห้างค้าปลีก หันมาปลูกพืชเอง จะทำให้ห่วงโซ่มูลค่าจากเดิมที่ยาวๆ สั้นลงอย่างมากเลยครับพี่น้อง ... เหมือนรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีห่วงโซ่มูลค่าสั้นลง เพราะใช้จำนวนชิ้นส่วนน้อยลงมาก ... ยุคต่อไป เราจะเห็นแบบนี้มากขึ้น ทั้งการผลิตสินค้าและอาหาร ที่ห่วงโซ่มูลค่าจะสั้นลง และเป็นการผลิตใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น (Local Foods, Local Products)
ก่อนหน้านี้ ห้างทาร์เก็ต (Target) ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มทดลองปลูกผักในห้างเอง ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2017 โดยเริ่มต้นปลูก มันฝรั่ง บีทรูท ซุคคินี พริกไทย และมะเขือเทศสายพันธ์หายาก และทยอยขยายจำนวนสาขา และ จำนวนชนิดของพืชผักที่ปลูกไปเรื่อยๆ เช่น จะเพิ่มการผลิตพืชที่เป็นไม้ผล มากขึ้นเรื่อยๆ
ต่อมา ห้างค้าปลีก Whole Foods ซึ่งมีมหาเศรษฐีเจ้าของเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซ ชื่อดังยี่ห้อ Amazon เป็นเจ้าของ ก็ประกาศแผนจะเปิดโรงงานปลูกพืชผัก (Plenty) ในเมืองจีนจำนวนกว่า 300 แห่ง เน้นการส่งขายที่ซูเปอร์มาร์เก็ต
เห็นได้เลยว่า ในอนาคตอีกไม่นาน เกษตรกรผู้ปลูกผักจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่แล้วครับ !!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from https://techcrunch.com/2018/11/08/infarm-paris/
- Data from https://thespoon.tech/food-tech-news-grocery-goes-electric-green-and-voice-enabled/
- Data from http://www.freshplaza.com/article/189188/Infarm-expands-to-1,000-farms-in-Europe-with-25M-investment
20 กรกฎาคม 2561
จีนสร้างอภิมหาโรงเรือนในทะเลทรายให้อียิปต์ 3,000 โรง เปลี่ยนอียิปต์สู่ประเทศเกษตรใหม่
อนาคตมาไวกว่าที่คิด ! ประเทศทะเลทราย กลายเป็นประเทศเกษตรกรรม
ก่อนหน้านี้ ผมได้รายงานความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ ที่ประเทศทะเลทรายพยายามผลิตอาหารเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหรับทำฟาร์มสตรอเบอรีในตู้คอนเทนเนอร์ การสร้างโรงงานปลูกพืชผัก (Plant Factory) เพื่อผลิตผักส่งร้านอาหาร ภัตตาคาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แทนการนำเข้า ... ไปจนกระทั่ง ถึงการนำข้าวพันธุ์น้ำทะเลของจีนมาปลูกในทะเลทราย แล้วเลี้ยงด้วยน้ำทะเล
วันนี้ ขอรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอภิมหาโรงเรือนในประเทศอียิปต์ครับ ซึ่งมีการทำสัญญาเมื่อปีที่แล้ว และขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างครับ โดยบริษัทก่อสร้างของจีนกว่า 80 บริษัทได้เข้าร่วมในการก่อสร้างครั้งนี้ นับเป็นความชาญฉลาดของจีน ที่คิดทำโครงการนี้ ซึ่งทำให้ช่วยระบายเหล็กจำนวนมหาศาล จากอุตสาหกรรมก่อสร้างในจีนที่กำลังชะลอตัวลง ทำให้เหล็กที่จีนผลิตได้มากมาย ส่งไปใช้ในแอฟริกา ทั้งใช้สร้างโรงเรือนเกษตร ทางรถไฟต่างๆ ที่จีนไปก่อสร้างกึ่งช่วยเหลือ
ภาพ - ชิ้นส่วนต่างๆ ในการสร้างโรงเรือน ถูกขนส่งจากเมืองจีน ซึ่งเร่งทำงานกันทั้งวันทั้งคืน
มาดูรายละเอียดคร่าวๆ ของโครงการก่อสร้างโรงเรือนของอียิปต์ ครั้งนี้กันนะครับ
- จำนวนโรงเรือนที่จะก่อสร้างครั้งนี้ มีจำนวน 3,000 โรงเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร
- มีบริษัทผู้ผลิตของจีน เข้าร่วมกว่า 80 บริษัท ทุกบริษัทต่างเร่งผลิตชิ้นส่วนต่างๆ 24 ชั่วโมง .. ตามสไตล์จีนหล่ะครับ ต้องทำเสร็จให้เร็วๆ ปีนี้ได้ใช้
- โครงการนี้ เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอียิปต์ กับ บริษัทจีน มูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มากกว่า 13,000 ล้านบาท
- จะมีการสร้างคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์ เข้ามาพื้นที่โรงเรือน
- โรงเรือนจะใช้เพาะปลูกพืชหลากชนิด ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น มะเขือเทศ แตงกว่า มะเขือม่วง พริกหวาน เป็นต้น
อาจจะมีคนมองว่า การปลูกพืชในโรงเรือนต้องใช้พลังงานมากมาย เพื่อมาปรับสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูก ซึ่งขณะนี้ อียิปต์มีโครงการก่อสร้างโซลาฟาร์มจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเกษตรได้เหลือเฟือ
เราอาจจะได้เห็น อียิปต์ กลายเป็นประเทศเกษตรในอนาคต ก็เป็นได้ !!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to .....
- Data and Pictures from https://news.cgtn.com/news/7855444f7a677a6333566d54/share_p.html
- Data from http://www.ytdrintl.com/news/big-newsyuantais-offering-70000-tons-steel-pipes-for-the-largest-greenhouses-for-egypt
- Data from http://pty.52hrtt.com/web/news_info.do?id=D1517391246038
- Data from http://www.egyptindependent.com/egypt-builds-worlds-largest-solar-park/
14 พฤษภาคม 2561
คู่แข่งเกษตรกรมาแล้ว ! ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกทยอยปลูกผักเอง .. ยุโรปเตรียมขยายให้ครบ 1,000 แห่งในปีหน้า
กระแสทำฟาร์มในร่มมาแรง .. ห้างค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต ภัตตาคาร โรงแรม ทั่วโลก มุ่งใช้ระบบปลูกผักในร่ม ผลิตผักใช้เอง
เรื่องที่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งในสหรัฐฯ และ ในยุโรป มีแผนที่จะทำการปลูกผักในห้างเอง เราคงเคยได้ยินเรื่องนี้มาสักพักแล้วนะครับ .. ก่อนหน้านี้ ห้างทาร์เก็ต (Target)ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มทดลองปลูกผักในห้างเอง ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2017 โดยเริ่มต้นปลูก มันฝรั่ง บีทรูท ซุคคินี พริกไทย และมะเขือเทศสายพันธ์หายาก และทยอยขยายจำนวนสาขา และ จำนวนชนิดของพืชผักที่ปลูกไปเรื่อยๆ เช่น จะเพิ่มการผลิตพืชที่เป็นไม้ผล มากขึ้นเรื่อยๆ
.
ต่อมา ห้างค้าปลีก Whole Foods ซึ่งมีมหาเศรษฐีเจ้าของเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซ ชื่อดังยี่ห้อ Amazon เป็นเจ้าของ ก็ประกาศแผนจะเปิดโรงงานปลูกพืชผัก (Plenty) ในเมืองจีนจำนวนกว่า 300 แห่ง เน้นการส่งขายที่ซูเปอร์มาร์เก็ต
.
ข้ามฝากมาที่ยุโรปครับ ซึ่งมีสตาร์ทอัพปลูกผักที่ชื่อว่า InFarm ข่าวล่าสุดนั้น บริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลยุโรปจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 80 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการทำการวิจัยและพัฒนา และล่าสุดเพิ่งได้เงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 800 ล้านบาท จากกองทุนร่วมลงทุนของเอกชน เพื่อที่จะขยายระบบปลูกไปยัง ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างๆ ทั่วยุโรปให้ครบ 1,000 แห่ง ภายในปี ค.ศ. 2019
.
ปัจจุบัน ซูเปอร์มาร์เก็ตในนครเบอร์ลินจำนวน 50 แห่ง ได้หันมาใช้ระบบปลูกผักแบบนี้ ในห้างของตัวเองกันแล้ว และเป็นที่พึงพอใจทั้งตัวห้างเอง และ ลูกค้าที่มาซื้อผัก เนื่องจากจะได้ผักใหม่ๆ สดๆ สะอาดปลอดภัย ระบบปลูกผักในห้างนี้ สามารถดูแลตัวเองได้ โดยแทบจะไม่ต้องใช้คนดูแลอีกเลยหลังจากนำมาปลูกในระบบแล้ว ซึ่งจะมีเซนเซอร์ต่างๆ คอยเก็บข้อมูล และเฝ้ามอง
.
การที่ห้างค้าปลีก หันมาปลูกพืชเอง จะทำให้ห่วงโซ่มูลค่าจากเดิมที่ยาวๆ สั้นลงอย่างมากเลยครับพี่น้อง ... เหมือนรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีห่วงโซ่มูลค่าสั้นลง เพราะใช้จำนวนชิ้นส่วนน้อยลงมาก ... ยุคต่อไป เราจะเห็นแบบนี้มากขึ้น ทั้งการผลิตสินค้าและอาหาร ที่ห่วงโซ่มูลค่าจะสั้นลง และเป็นการผลิตใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น (Local Foods, Local Products)
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from http://www.freshplaza.com/article/189188/Infarm-expands-to-1,000-farms-in-Europe-with-25M-investment
- Data from https://www.thetimes.co.uk/article/infarm-grows-produce-in-supermarket-aisles-7n68n006m
- Data from https://techcrunch.com/2018/02/05/balderton-backs-infarm/
07 พฤษภาคม 2561
เกษตรกรมาเลย์ตื่น ! ทิ้งสวนปาล์ม แห่ปลูกทุเรียน - หลังกระแส มูซัง คิง เริ่มฮิตในจีน
ยุคบูมทุเรียน .. เกษตรกร มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน พม่า หันมาปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ
.
เกษตรกรสวนปาล์มทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ในมาเลเซีย .. ทยอยเปลี่ยนสวนปาล์มมาเป็นสวนทุเรียน จากที่มาเลเซีย เคยเปลี่ยนจากปลูกยางพารา มาปลูกปาล์ม จนกลายเป็นมหาอำนาจน้ำมันปาล์ม .. วันนี้ เมื่อกระแสฮิตทุเรียนระเบิดระเบ้อในเมืองจีน ประกอบกับ คนจีนเริ่มให้ความสนใจทุเรียนมาเลย์ "มูซังคิง" ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ด้วยราคาอันจูงใจ .. ในภายภาคหน้า เวลาเราเดินทางไปลงสนามบินกัวลาลัมเปอร์ เราอาจจะได้เห็นสวนทุเรียน กว้างใหญ่ไพศาล สุดลูกหู ลูกตา ก็เป็นได้
.
เมื่อพูดถึงรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน มูซังคิง ในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีรายได้ 2 แสนบาทต่อปี เป็นอย่างน้อย มากเป็น 9 เท่า เทียบกับ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ทำให้เกษตรกรรายเล็ก รายน้อย ของมาเลเซียเริ่มตื่นตัวเป็นอย่างมาก โดยถึงแม้นักวิจารณ์จะบอกว่า ถ้าแห่ปลูกกันมาก ราคาก็อาจจะตกก็ได้ .. แต่เกษตรกรต่างก็คิดว่า ก็ยังดีกว่าปลูกปาล์มในตอนนี้แหล่ะ โดยเฉพาะมาเลเซียมีพื้นที่ที่เป็นที่ลาดชันค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะเหมาะกับทุเรียน มากกว่าปาล์ม ด้วยซ้ำ
จากสถิติการนำเข้าทุเรียนสดของประเทศจีนนั้น ในปี ค.ศ. 2016 จีนนำเข้าทุเรียนสด มากถึง 612,063 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 35,000 ล้านบาท ซึ่งเมืองไทยเรานั้น ได้ส่วนแบ่งตรงนี้ไปมากกว่า 99% ในขณะที่มาเลเซียนั้น ส่งทุเรียนไปเมืองจีน ในรูปทุเรียนแช่แข็ง เป็นหลัก แล้วก็ยังส่งไม่มากนัก เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศเพียง 14,000 ตัน เท่านั้น .. อย่างไรก็ตาม มาเลเซียกำลังพยายามดำเนินการ เพื่อให้สามารถส่งทุเรียนสด เข้าเมืองจีนโดยตรงได้ (ปัจจุบันต้องส่งผ่าน ไทย และ ฮ่องกง)
.
อย่างไรก็ตาม การหันมาปลูกทุเรียน ก็เป็นเรื่องท้าทายของเกษตรกรมาเลย์ ทุเรียนต้องการดูแลเอาใจใส่มากกว่าปาล์มเยอะ พื้นที่ห่างกันแค่ 50 เมตร ก็มีผลทำให้ทุเรียนที่ออกมามีคุณภาพต่างกันแล้ว ทำให้ในสวนเดียวกัน ก็ยากที่จะทำให้ทุเรียนมีรสชาติเหมือนกันได้ .. ยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ปลูกที่ต่างพื้นที่กัน ก็ผลิตทุเรียนที่อร่อยแตกต่างกันอย่างแน่นอน
.
นอกจากกระแสตื่นตัวแห่ปลูกทุเรียน จะระบาดในประเทศมาเลเซียแล้ว ยังเชื่อกันว่า เกษตรกรในประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม จีน พม่า ก็เริ่มตื่นตัวหันมาปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เกษตรกรมาเลย์ ก็จะต้องเตรียมรับมือการแข่งขันต่างๆ ด้วย ซึ่งเชื่อว่า เทคโนโลยีในการเพาะปลูกจะเป็นตัวชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นำ ซึ่งถ้ามองในจุดนี้แล้ว ประเทศที่อาจเข้ามาเป็นคู่แข่งเรื่องทุเรียนในอนาคต ก็อาจเป็น ออสเตรเลีย ก็เป็นได้ ?!?! เพราะในอดีตที่ผ่านมา ออสเตรเลียก็ผันตัวเองมาเป็นประเทศผู้ปลูกผลไม้ส่งออก ทั้งๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง กล้วย มะละกอ .. และออสเตรเลีย ก็เริ่มหันมาสนใจปลูกทุเรียน แล้ว !!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from http://www.theedgemarkets.com/article/choosing-between-oil-palm-and-durian-trees
- Data from http://worldnews.easybranches.com/regions/asia/a-durian-economy-malaysia-is-banking-on-it-562101
- Data from http://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/2140226/14000-tonnes-durians-exported-malaysia-last-year
- Data from http://www.freshplaza.com/article/192096/Great-potential-for-refrigerated-Malaysian-Musang-King-durians-in-China
- Data from https://www.thestar.com.my/news/nation/2018/03/23/liow-were-working-to-export-durians-directly-to-china/
- Data from http://www.scmp.com/news/hong-kong/economy/article/2122620/how-chinas-soaring-appetite-malaysian-durians-causing-spike
04 พฤษภาคม 2561
โลกปศุสัตว์ระส่ำ ! พบคนรุ่นใหม่หันกิน "เนื้อสัตว์ที่ไม่ต้องฆ่า" ตลาดโตพุ่ง 1.6 แสนล้านบาท
เมื่อคนรุ่นใหม่ มีเมนูอาหารเปลี่ยนไป ไม่เหมือนคนรุ่นเก่าอีกต่อไป .. อุตสาหกรรมอาหาร จึงเริ่มระส่ำ เพราะต้องรีบปรับตัว ไม่งั้นก็อาจโดนล้มล้าง หรือ ดิสรัปต์ (Disrupted)
.
ในขณะนี้ อุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐฯ กำลังเกิดการตื่นตัวขนานใหญ่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่ เหล่า Gen Z ที่เกิดในช่วงปี 1995 ถึงหลังปี 2000 เริ่มมีแนวทางบริโภค อาหารที่ไม่เหมือนเดิม ทำให้เกิดสตาร์ทอัพด้านอาหารเกิดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดใหม่ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ที่มาจากพืช หรือ เนื้อสัตว์ปลูกที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ ไข่ที่ไม่ต้องเลี้ยงไก่ นมและชีสที่ไม่ต้องทรมานวัว ของกินเล่นต่างๆ หรือแม้แต่ เบียร์
.
ซึ่งคนกลุ่มนี้ ก็ไม่ใช่เล็กๆ นะครับ ! เพราะหลังปี 2020 จะมีจำนวนคิดเป็น 40% ของคนที่มีกำลังจ่ายเงินในสหรัฐ เลยทีเดียว .. ทำให้ คนกลุ่มนี้ "ชี้เป็น ชี้ตาย" อนาคตของอุตสาหกรรมอาหาร เลยทีเดียว
ตอนนี้ เนื้อสัตว์ทางเลือก ที่ไม่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต กำลังเป็นกระแสของคนรุ่นใหม่ และเป็นตลาดที่เติบโตเร็วมาก ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งแข่งกันนำเข้ามาขาย และตอนนี้เริ่มระบาดไปยังฟาสต์ฟู้ดต่างๆ แล้ว .. และจากการสำรวจความคิดเห็นของคนหนุ่มสาวมหา'ลัย พบว่า พวกเขาเหล่านั้น ชื่นชอบ เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช กับ อาหารทะเลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ไม่ได้มาจากการประมงแบบใช้แรงงานทาส)
.
ตลาดใหม่นี้ คาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.6 แสนล้านบาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือ ในปี ค.ศ. 2020
.
กลยุทธ์ที่เหล่าสตาร์ทอัพเนื้อสัตว์ทางเลือกชอบใช้ คือ บุกเข้าไปขายในมหาวิทยาลัย และ โรงเรียนให้ได้ก่อน โดยเจาะไปที่โรงอาหาร ฟู้ดเซนเตอร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะช่วยทำให้กระแสกระพือไปเร็วไวยิ่งขึ้น .. เมื่อเดือน กันยายน ปีที่แล้ว บริษัทสตาร์ทอัพที่ชื่อ อิมพอสซิเบิ้ล ฟู้ดส์ (Impossible Foods) ได้เปิดโรงงานผลิตเบอร์เกอร์ที่ทำจากพืช ที่สามารถผลิตเบอร์เกอร์ได้ 4 ล้านชิ้นต่อเดือน .. นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดนี้ ได้เป็นอย่างดี
.
ไม่เพียงแต่ อิมพอสซิเบิ้ล ฟู้ดส์ เท่านั้น ที่บุกตลาดมหาวิทยาลัย .. บริษัทสตาร์ทอัพอื่นๆ ทั้ง นิวเวฟฟู้ดส์ (New Wave Foods) โอเชียนฮักเกอร์ฟู้ดส์ (Ocean Hugger Foods) ก็โหมบุกตลาดนี้เช่นกัน คนเหล่านี้เชื่อว่า เด็กมหา'ลัย นี่แหล่ะ จะเป็นผู้กำหนดเทรนด์ที่จะเป็นไปในอนาคต นั่นเอง
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data and Picture from http://www.businessinsider.com/generation-z-is-eating-fake-meat-2017-10
- Data from https://www.fastcompany.com/40557463/the-plant-based-impossible-burger-is-now-available-as-a-white-castle-slider
- Picture from https://qz.com/749443/being-vegan-isnt-as-environmentally-friendly-as-you-think/
01 พฤษภาคม 2561
มารู้จัก ซีไอเอ แห่งวงการเกษตรสหรัฐฯ ผู้ทำให้เกษตรกรสหรัฐได้เปรียบทุกชาติ
มารู้จัก ซีไอเอ แห่งวงการเกษตรสหรัฐฯ ที่คอยสืบหาข้อมูลเกษตรทั่วโลก เพื่อทำให้เกษตรกรของตัวเองได้เปรียบชาติอื่นๆ
ในสงครามต่างๆ นั้น .. ถ้ารู้เขา รู้เรา ย่อมรบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง ใช่ไหมครับพี่น้อง .. การทำเกษตรในยุคข้อมูลนี้ ยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ... ด้วยเหตุนี้ สหรัฐอเมริกาจึงมีหน่วยงานพิเศษ ที่ทำงานเป็นสปายเหมือน ซีไอเอ คอยสืบหา ค้นคว้า เก็บข้อมูลทางด้านเกษตรทั่วโลก เพื่อที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจต่างๆ รวมไปถึงการบริการข้อมูลแก่เกษตรกรสหรัฐ ทำให้เกษตรกรสหรัฐมีความได้เปรียบทางด้านข้อมูลเป็นอย่างมากครับ
.
ด้วยแนวคิดที่ว่า "ให้มองเกษตรกรเหมือนนักธุรกิจ เราต้องบริการข้อมูลที่ดีให้แก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง"
.
และนี่เอง ช่วยเสริมให้ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตร อันดับ 1 ของโลกมาอย่างยาวนาน แทบจะไม่มีใครแข่งด้วย .. และพักหลังๆ นี้ ยังเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรมาตีตลาดเอเชีย เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
.
ในประเทศสหรัฐมีหน่วยงานชื่อ The Foreign Agricultural Service (FAS) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงเกษตร (USDA) ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลด้านการเกษตรของทุกประเทศทั่วโลก ให้แก่เกษตรกรและเอกชนของสหรัฐ ข้อมูลที่ติดตามและเก็บรวบรวมนั้นไม่ใช่เป็นแค่ข้อมูลของประเทศคู่ค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลของประเทศคู่แข่งด้วย
.
โดยเจ้าหน้าที่ของ FAS จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคการเกษตรเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการเพาะปลูก การส่งออก การนำเข้า และการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลปฐมภูมิไม่ใช่ข้อมูลจากการคาดการณ์หรือข้อมูลจากศุลกากร ตัวอย่างเช่น ข้อมูลปริมาณการส่งออกข้าวของไทย FAS ไม่ได้อิงข้อมูลและตัวเลขของศุลกากร แต่ FAS เก็บข้อมูลปริมาณการส่งออกข้าวจากสายการเดินเรือเองเพื่อความแม่นยำของข้อมูล
.
เจ้าหน้าที่ FAS ประจำกงสุลแต่ละประเทศจะทำหน้าที่ติดตามและรายงานข้อมูลทุกสัปดาห์ เพื่อจัดส่งข้อมูลที่ได้ไปให้ส่วนกลางที่กรุงวอชิงตัน เก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลและเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานเป็นรายสัปดาห์ นอกจากนี้แล้ว ยังจัดทำรายงานข้อมูลเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี ตลอดจนทำการประมวลผลข้อมูลทั้งหมด เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสินค้าเกษตรในตลาดโลกด้วย (World Production Market and Trade report) เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตามปรัชญาของการทำงาน “treat farmers like businessmen, give them good information and they will make the right decision”
.
ภายใต้กรอบภารกิจของ FAS เองไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่เก็บข้อมูลด้านการตลาดเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่อื่นที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนภาคการเกษตรของสหรัฐด้วย ซึ่งได้แก่
.
1.ให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงระหว่างภาคการเกษตร การค้า การลงทุนและการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นระเบียบ กฎเกณฑ์การส่งออกสินค้าเกษตร ข้อตกลงทางการค้า มาตรฐานสินค้า ข้อจำกัดต่างๆ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร และสินค้าเกษตรทุกประเภท
.
2.ส่งเสริมการส่งออก ซึ่ง FAS จะร่วมมือกับสมาคมภาคเอกชน เช่น สมาคมข้าวสาลี (U.S. Wheat Association) เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมการส่งออก ส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้า ตลอดจนการขยายและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร โดยที่ FAS จะไม่ทำหน้าที่ในการจับคู่ธุรกิจให้กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการเอง แต่จะช่วยด้วยการสนับสนุนเงินงบประมาณมากกว่า เพราะเชื่อว่าเอกชนสามารถทำได้ดีกว่าภาครัฐ
.
3.ช่วยล็อบบี้รัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายทางการค้า เช่นกรณีของไทยที่ไม่ให้นำเนื้อสเต็กติดกระดูกของสหรัฐ เข้ามาขายในประเทศ
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- ดร. ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- Picture from http://glassalmanac.com/intelliscout-farming-app-google-glass/5895/
- Picture from https://www.dreamstime.com/smart-agriculture-concept-agronomist-farmer-use-artificial-i-intelligence-augmented-reality-farm-to-help-grow-systems-image102927650
- Picture from http://sen.com/news/persona-3-spy-satellite-lifts-off
07 เมษายน 2561
ปศุสัตว์ไทย สะเทือน !! เนื้อสัตว์"ปลูก" เตรียมบุกอาเซียน เปิดตลาดคนไม่อยากฆ่าสัตว์
วงการปศุสัตว์ไทยเตรียมพร้อม ! สตาร์ทอัพผลิตเนื้อสัตว์ปลูก กับ เนื้อสัตว์จากพืช เตรียมรุกตลาด มีกองทุนใหญ่หนุนหลัง
.
อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์กำลังได้รับแรงกดดันรอบด้าน ตกเป็นจำเลยสังคมในแง่ที่ว่า อุตสาหกรรมนี้ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำมาก และเป็นตัวการโดยตรงที่ผลิต ก๊าซมีเทน สู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้โลกร้อนหนักเสียยิ่งกว่าการใช้รถยนต์น้ำมันเสียอีก
นอกจากนั้น ในยุคที่เด็กรุ่นใหม่ คือ Gen M ซึ่งเกิดหลังในช่วงหลังปี 2000 เด็กๆ รุ่นใหม่เหล่านี้ เริ่มมีแนวคิดด้านจริยธรรมของการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยจากงานวิจัยพบว่า เด็กรุ่นใหม่มีแนวโน้มยอมรับการกินเนื้อสัตว์แบบใหม่ที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ ซึ่งจะช่วยแก้ได้ทั้งปัญญาสิ่งแวดล้อม และเรื่องของศีลธรรม ทำให้เนื้อสัตว์แบบใหม่นี้ เริ่มตีตลาดในสหรัฐฯ จนกองทุนใหญ่ๆ เล็งเห็นโอกาสการนำเข้ามาทำตลาดในเอเชีย รวมทั้ง ประเทศไทยและอาเซียน
.
กระแส เนื้อสัตว์สะอาด (Clean Meat) กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแนวทางในการทำเนื้อสัตว์ทดแทนที่กำลังดัง มี 2 แบบคือ
- เนื้อสัตว์ปลูก (In vitro meat) เป็นการปลูกเนื้อสัตว์ขึ้นมาจากเซลล์ของสัตว์ ก็จะได้เนื้อสัตว์จริงๆ โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ ข้อดีก็คือ เลือกส่วนที่ปลูกได้ตามความต้องการมากน้อยของตลาด ได้รสชาติและลักษณะกายภาพของเนื้อสัตว์
- เนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช (Plant-Based Meat) เป็นการนำพืชชนิดต่างๆ มาสร้างผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ โดยมีโมเลกุลฮีมที่ทำให้เกิดสีเหมือนเนื้อสัตว์สด
.
ตอนนี้ เนื้อสัตว์แบบใหม่ที่จะเริ่มเข้ามาบุกไทย มีทั้ง 2 แบบครับ โดยกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ แอบทุ่มไปลงทุนในเนื้อสัตว์ทั้ง 2 แบบ และวางแผนจะนำมาขายในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น บริษัท Impossible Foods จากสหรัฐฯ ซึ่งทำแฮมเบอร์เกอร์เนื้อจากพืช (บริษัทนี้ยังได้รับเงินลงทุนจำนวนมากจาก มหาเศรษฐี บิล เกตส์) บริษัท SuperMeat สัญชาติอิสราเอล ที่ปลูกเนื้อไก่จากเซลล์เนื้อไก่ ซึ่ง เทมาเส็กของสิงคโปร์ก็แอบไปลงทุน นอกจากไปลงทุนในสตาร์ทอัพต่างแดนแล้ว สิงคโปร์ยังมีสตาร์ทอัพของตนเองที่ชื่อว่า Life3 Biotech ที่กำลังวิจัยและพัฒนาการปลูกเนื้อไก่
.
จากข้อมูลสถิติ พบว่า คนเอเชียบริโภคเนื้อสัตว์คิดเป็น 44% ของทั้งโลก การบุกเข้าตลาดเอเชียแล้วค่อยๆ เปลี่ยนคนที่กินเนื้อสัตว์จริง ให้มากินเนื้อสัตว์แบบใหม่ จึงเป็นอะไรที่คุ้มค่า ข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่าน ผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนเนื้อสัตว์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น สินค้าประเภทเจ หรือ มังสวิรัติมีอัตราการเติบโตสูงถึง 140 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 2012 และ 440 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 2016
.
จับตาดูต่อไปนะครับว่า .. วงการเนื้อสัตว์ไทย อาเซียน และ เอเชีย จะโดนดิสรัปต์ (Disruption) จากผู้เข้ามาใหม่หรือไม่ และ เกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้ จะต้องทำอย่างไรต่อไป .. เป็นการบ้านใหม่ที่ วงการปศุสัตว์ไทยจะต้องรีบคิดแล้วหล่ะครับพี่น้อง !!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from https://www.dealstreetasia.com/stories/clean-food-tech-global-se-asia-95072/
- Data from https://techsauce.co/investment/temasek-invest-impossible-foods/
- Picture from https://techcrunch.com/2015/10/06/impossible-foods-raises-a-whopping-108-million-for-its-plant-based-burgers/
07 มีนาคม 2561
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สะเทือน ! สตาร์ทอัพแห่เปิดฟาร์มแมลง ผลิตอาหารสัตว์ แทนที่ ปลาป่น ข้าวโพด
หน่วยงานควบคุมอาหารสัตว์สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้แมลงเป็นอาหารสัตว์ได้ ยุโรป แคนาดา แห่หนุนตาม อนาคตอาจแบนปลาป่น คาด โปรตีนจากแมลงจะช่วยลดการใช้ข้าวโพดและถั่วเหลืองทำอาหารสัตว์ .. เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงรวมกลุ่มตั้งองค์กรผลักดันตลาดและกฎหมาย
.
วงการอาหารสัตว์เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงครับ จากเดิมที่ใช้วัตถุดิบประเภทโปรตีนสูงจากปลา แต่ในอนาคตอาจจะถูกกฎระเบียบใหม่ ให้เปลี่ยนไปใช้โปรตีนจากแมลงแทนก็เป็นได้ .. จากตัวเลขที่น่าตกใจคือ 10 เปอร์เซ็นต์ของปลาทะเลที่จับได้ในแต่ละปี หรือ ประมาณ 15 ล้านตัน ถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ปีก หมู หรือ ปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งวัตถุดิบพวกนี้มีราคาแพง แถมยังมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังที่ปรากฎเป็นข่าวว่า ทางประเทศตะวันตกได้ประณามการนำปลาป่นมาทำอาหารสัตว์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย ที่ทั้งทำลายสิ่งแวดล้อม และ ใช้แรงงานทาส
.
และพระเอกของวงการอาหารสัตว์ ที่จะมาช่วยกู้โลกก็คือ หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) ซึ่งอาหารของมันนั้น เป็นเศษอาหารเหลือทิ้งจากบ้านเรือน ภัตตาคาร โรงแรม ซูเปอร์มาเก็ต ในแต่ละปี อาหารที่ผลิตในสหรัฐอเมริกากว่าครึ่ง ถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ ดังนั้น การนำหนอนแมลงวันลายมาเปลี่ยนเศษอาหารให้เป็น โปรตีน เท่ากับว่า เราได้นำทรัพยากรที่ถูกทิ้ง เอากลับมาสร้างอาหารใหม่
.
ก่อนหน้านี้ ได้มีสตาร์ทอัพหัวใส ที่ชื่อว่า อะกรีโปรตีน (AgriProtein) ซึ่งก่อตั้งในประเทศแอฟริกาใต้ ได้ทดลองทำฟาร์มเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) โดยนำเศษอาหารต่างๆ ที่เหลือทิ้งจากภัตตาคาร นำมาเป็นอาหารให้หนอนแมลงวันลาย ปรากฎว่า หนอนแมลงวันลายเติบโตเร็วมาก ทั้งนี้ จากการทดลองนำไปให้ไก่กิน ปรากฎว่าไก่ชอบกินหนอนแมลงวัน มากกว่าอาหารไก่ที่มีส่วนผสมของปลาป่นเสียอีก และหนอนแมลงวันยังสามารถนำไปผสมเป็นอาหารหมูได้อีกด้วย ต่อมา สตาร์ทอัพแห่งนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากนักลงทุนในซิลิกอนวัลเลย์ ให้ไปเปิดฟาร์มเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย 20 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีที่ตั้งใกล้ๆ เมืองใหญ่ เพื่อจะได้สามารถรวบรวมเศษอาหาร มาใช้เป็นวัตถุดิบในการเลี้ยงหนอน
.
ข้ามมาฝั่งยุโรป ก็ได้มี บริษัทโปรติกซ์ (Protix) ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงทำให้วงการอาหารสัตว์ดีขึ้น ด้วยการเลิกใช้ปลาป่นแล้วหันมาใช้โปรตีนจากแมลงแทน สตาร์ทอัพแห่งนี้ได้รับเงินลงทุนกว่า 45 ล้านยูโร หรือ เกือบ 1,800 ล้านบาท เพื่อขยายกระบวนการผลิตหนอนแมลงวัน ซึ่งนำมาทำเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ โดยที่ผ่านมาได้ผลิตอาหารหมู อาหารไก่ และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยจะขยายกำลังผลิตเพื่อนำไปเป็นอาหารปลา ซึ่งขณะนี้ ฟาร์มเลี้ยงปลาในยุโรปกำลังเป็นที่นิยม และมีการเติบโตสูง นอกจากนั้น บริษัทโปรติกซ์ยังจะทำการคิดค้นวิจัย การผลิตโปรตีน ไขมัน และสารอาหารสำคัญ สำหรับใช้ในวงการอื่นๆ อีก เช่น อาหารมนุษย์ อาหารเสริมของพืช เป็นต้น
.
การผลิตหนอนแมลงวันนั้น จะใช้เศษอาหารซึ่งเก็บจากภัตตาคาร โรงแรม บ้านเรือน ซูเปอร์มาร์เก็ต นำมาเลี้ยงหนอนแมลงวัน ซึ่งนับว่าเป็นกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากๆ เป็นธุรกิจที่น่าสนใจนะครับ มีแต่ได้กับได้ ...
(1) ต้นทุนต่ำ ใช้เศษอาหารมาเลี้ยงหนอน
(2) เกิดธุรกิจกำจัดและรวบรวมเศษอาหาร
(3) ได้หนอนที่เป็นอาหารสัตว์
(4) ได้ปุ๋ยอินทรีย์ เอาไปใช้ปลูกพืชได้อีก
(5) การอุตสาหกรรมต้นน้ำของอาหารสมัยใหม่ (สามารถผลิตสารอาหารความเข้มข้นสูงบางชนิด สำหรับทางเภสัชและการแพทย์)
.
อุตสาหกรรมแมลง กำลังคึกคัก ในประเทศตะวันตกทั้ง สหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป .. โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เกษตรกรถึงกับรวมกลุ่มก่อตั้ง เครือข่ายพันธมิตรเกษตรกรรมแมลงแห่งอเมริกาเหนือ (THE NORTH AMERICAN COALITION FOR INSECT AGRICULTURE) โดยมีพันธกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มให้มีความแข็งแกร่ง พัฒนาการเพาะเลี้ยง การแปรรูปให้ได้มาตรฐาน ผลักดันการยอมรับในแง่กฎหมาย พัฒนาการเข้าถึงตลาด ไปจนถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมแมลงขึ้นไปอยู่แถวหน้าของโลก
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from https://psmag.com/news/bug-filled-future-of-feed
- Picture from http://www.cultivatekauai.com/category/black-soldier-fly-larvae/
- Picture from https://youtu.be/AdlBY71yQck
- Picture from http://www.pvenews.com/mediafiler/start/images?view=preview&fuid=img158/031215Protix-04.jpg
22 กุมภาพันธ์ 2561
"ไข่ ไม่ต้องมี ไก่" บุกฮ่องกงแล้ว - ประตูสู่ผู้บริโภคจีน และ อินเดีย ขนาดมหึมา
เป็นข่าวใหญ่ในวงการอาหาร ที่จะกระทบผู้เลี้ยงไก่ไข่ ... แต่เงียบมากๆ ครับในประเทศไทยเรา เมื่อบริษัท จัสต์ (JUST) ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากเดิมที่เคยชื่อ แฮมตันครีก (Hampton Creek) ได้นำผลิตภัณฑ์ไข่ที่ไม่ต้องเลี้ยงไก่ ซึ่งมีหลากหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไข่คน (JUST Scramble) ไข่มาโย (JUST Mayo ซึ่งมักใช้ทำเบเกอรี่ คุ้กกี้) มาเปิดตัวในฮ่องกง สร้างความฮือฮาให้กับวงการอาหารในเอเชีย รวมทั้ง เหล่าผู้บริโภคสายเจ และ มังสวิรัติ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ที่ต้องการกินแบบไม่ต้องทรมาน หรือ ฆ่าสัตว์
.
คำถามที่ว่า ทำไม จัสต์ ถึงเปิดตัวที่ฮ่องกง ? นักวิเคราะห์เชื่อว่า นี่คือการเจาะตลาดจีน รวมทั้งเอเชียด้วย โดยการใช้ ฮ่องกง เป็นห้องทดลองและฐานปฏิบัติการ ทั้งนี้ บริษัทจัสต์ นี้ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนในช่วงสร้างตัวจาก มหาเศรษฐี ลี กา ชิง แห่งฮ่องกงอีกด้วย ทำให้เชื่อได้ว่า บริษัทจะใช้เครือข่ายของ ลี กาชิง เพื่อเจาะไปสู่ตลาดผู้บริโภคจีนขนาดมหึมา ในลำดับถัดไป
.
ปัจจุบัน ประเทศจีนผลิตไข่ไก่ได้ 30% ของทั้งโลก ซึ่งมีจำนวน 1 ล้านล้านฟองต่อปี ทำให้เป็นที่กังวลใจเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การที่มี "ไข่ ที่ไม่ต้องเลี้ยงไก่" เข้ามาขายในจีน ก็เป็นความหวังในการที่ต่อไป เราจะได้ไม่ต้องเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรมอีกต่อไป (โดยการจับไก่มาขังคอก แล้วเลี้ยงจำนวนมาก) ส่วนไก่ที่เลี้ยงแบบอิสระ (ไม่ขังคอก) ก็น่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกันในอนาคต
ภาพ - มหาเศรษฐี ลี กาชีง แห่งฮ่องกง ผู้สนับสนุนสตาร์ทอัพ "ไข่ ไม่ต้องเลี้ยง ไก่" กำลังทดลองทอดไข่คนมาลองรับประทาน
แล้ว "ไข่ ไม่ต้องมี ไก่" จะได้รับความนิยมจริงหรอ ? ปัจจุบันนี้ บริษัทจัสต์ มีการนำ "ไข่ ไม่ต้องมี ไก่" ออกจำหน่ายแล้วทั่วสหรัฐ มีจุดขายมากกว่า 100,000 แห่ง แถมเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยังสร้างความฮือฮา ด้วยการที่ร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ในสหรัฐฯ ได้เลิกใช้ ไข่ไก่จริง แล้วหันมาใช้ "ไข่ ไม่ต้องมี ไก่" แทนเพื่อทำอาหารขายในร้าน การเข้ามาเปิดตลาดในฮ่องกง จึงเป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาดไปสู่ จีน ญี่ปุ่น และ อินเดีย ... ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะมีมาผ่าน ไทยและอาเซียน ด้วย
.
ทั้งนี้ ยังมีกระแสข่าวว่า ทาง "จัสต์" จะมาตั้งโรงงานในเอเชียอีกด้วย ! การเปิดตัวเอา "ไข่ ไม่ต้องเลี้ยง ไก่" เข้ามาบุกตลาดในเอเชีย จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ... ถ้าใครยังจำได้ บริษัทนี้ ยังได้ทำ "เนื้อสัตว์ ที่ไม่ต้องเลี้ยงสัตว์" หลายชนิดอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่า จะทยอยมาเปิดตัวในอีกไม่ช้า !!!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from http://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2018/2/Asian-food-sector-targeted-with-egg-substitute-251194E/
- Data from http://vegnews.com/articles/page.do?pageId=10715&catId=1
- Data from https://www.livekindly.co/vegan-just-company-set-open-first-manufacturing-facility-asia/
- Picture from https://justforall.com/en-us/stories/scramble
- Picture from https://www.wired.com/2014/02/fake-eggs-and-asian-expansion/
17 กุมภาพันธ์ 2561
เตรียมพร้อมแข่งขัน ! ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปสู่ประเทศส่งออก เกษตร-อาหาร .. ไทยอยู่ในเป้าหมายส่งออก
ญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนนโยบายจากประเทศนำเข้าอาหาร ตอนนี้ต้องการเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร แถมมีประเทศไทยอยู่ในเป้าหมายด้วย จากแนวโน้มการส่งออกอาหารของญี่ปุ่นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแนวโน้มดีขึ้นตลอด
.
- ก่อนหน้านี้ ในปีที่แล้ว สถานทูตไทยในญี่ปุ่น ได้ให้ข่าวว่า ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาจะตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี สินค้าเกษตรจากเมืองไทยจำนวนมากถึง 400 รายการ เริ่มปี พ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรญี่ปุ่น
- ญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนจากประเทศนำเข้าอาหาร ไปสู่ประเทศส่งออกสินค้าเกษตร .. อาหารเดิมที่เคยนำเข้า ก็จะใช้วิธีการไปสร้างฟาร์มในประเทศที่ส่งออก เช่น เวียดนาม ยูเครน รัสเซีย แล้วก็ค่อยนำเข้ามาญี่ปุ่น แทน
- สินค้านำเข้าหลายชนิด จะเริ่มมีการปลูกทดแทนแล้ว เช่น มะม่วง หรือ แม้แต่กล้วยหอมที่สามารถปลูกได้ในโรงเรือนทางใต้ของญี่ปุ่น รวมไปถึง กาแฟ ด้วย
- ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นส่งออกได้ ประมาณ 2.4 แสนล้านบาท (ถึงแม้จะดูน้อยเมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่ส่งสินค้าเกษตรได้ 9 แสนล้านบาท ก็ตาม .. แต่ต้องไม่ลืมว่า เขาเป็นประเทศอุตสาหกรรม นะจ๊ะ) เมื่อเทียบว่า แต่เดิมญี่ปุ่นมีแต่นำเข้าอาหาร แต่ตอนนี้ เริ่มส่งออกอาหาร
- การส่งออกเนื้อวัว เติบโต 41.4 เปอร์เซนต์ ชาเขียวโต 24.3 เปอร์เซนต์ ข้าว โต 18.1 เปอร์เซนต์ สตรอเบอรี่ เติบโตกว่า 56.5 เปอร์เซนต์
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from https://www.japantimes.co.jp/news/2018/02/09/business/japans-farm-exports-hit-record-high-fifth-straight-year/#.WocAdK7XaUl
- Picture from http://www.jnto.go.jp/eng/location/routes/g_route/golden_45.html
11 กุมภาพันธ์ 2561
เริ่มแล้ว ! ยุคปลูกผักแนวตั้งในเมือง ปลูกผักในห้าง สั่งออนไลน์ ส่งตรงผู้บริโภค - อเมซอนพร้อมลุย
เตรียมพร้อมรับ ยุคปลูกผักในร่ม เกษตรกรรมย้ายจากชนบท สู่ เมืองใหญ่ !!
มาไวกว่าที่คิด เมื่อยักษ์ใหญ่ค้าปลีกออนไลน์ อเมซอน ของมหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) เตรียมบุกเบิกการปลูกผักในร่มโดยใช้แสงแดดเทียม ในรูปแบบของฟาร์มแนวตั้ง (Verfical Farm) และ โรงงานปลูกพืชผัก (Plant Factory) ในพื้นที่เขตเมือง รวมทั้งในห้างค้าปลีก แล้วส่งตรงไปถึงมือผู้บริโภคผ่านเครือข่ายอีคอมเมิร์ซที่ตัวเองครอบครอง รวมไปถึง ค้าส่งไปยัง โรงแรม ภัตตาคาร ต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีลอจิสติกส์ แบบครบครันของอเมซอน
.
เมื่อปีที่แล้ว อเมซอนได้เข้าซื้อห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่อย่าง Whole Foods ทำให้อเมซอนมีหน้าร้านค้าปลีกที่ใหญ่โตมากมาเสริมทัพ และปีนี้ อเมซอนได้เริ่มบริการการสั่งผัก ผลไม้ อาหาร จากห้างดังกล่าว โดยจะนำไปส่งถึงที่ในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
.
ปีที่แล้ว อเมซอนได้เข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัทสตาร์ทอัพปลูกผักแนวตั้งที่ชื่อว่า Plenty ร่วมกับบริษัทซอฟต์แบงค์ของญี่ปุ่น และ อีริค ชมิทด์ ซึ่งเป็นอดีตประธานบริษัทกูเกิ้ล ด้วยวงเงินกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6 พันกว่าล้านบาท โดยในปีนี้ บริษัท Plenty มีแผนจะเข้ามาเปิดโรงงานปลูกผักในเมืองจีนกว่า 300 แห่ง ทั่วประเทศจีน ซึ่ง Plenty ได้บอกว่า ตอนนี้บริษัทสามารถผลิตพืชผักได้ในราคาเดียวกับผักที่มาจากการปลูกกลางแจ้ง ซึ่งนับว่า เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในวงการปลูกพืชในร่มเลยทีเดียว
.
ทั้ง อเมซอน และ Plenty เชื่อว่า การเพาะปลูกแบบในร่มคืออนาคตของเกษตรกรรมโลก ซึ่งจะช่วยให้ลดการใช้น้ำ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง รวมถึงผลิตอาหารที่ปลอดภัย พวกเขาเชื่อว่า คนจีน และ คนเมืองทั้งหลายบนโลกใบนี้ ต้องตอบรับกระแสใหม่นี้อย่างแน่นอน
.
ที่สำคัญ ! อเมซอนมีแผนจะขยายโรงงานปลูกผักในร่มไปยังเมืองใหญ่ ทุกๆ เมืองในโลก ... ดังนั้น กระแสนี้ ก็ต้องเข้ามาเมืองไทย อย่างแน่นอน !!!
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from http://www.businessinsider.com/vertical-farming-company-jeff-bezos-plenty-china-2018-1
- Data from https://qz.com/1189636/a-startup-is-about-to-build-300-vertical-farms-in-china-thanks-in-part-to-jeff-bezos/
- Data from http://fortune.com/2018/01/17/indoor-farming-startup-plenty-china-japan/
- Data from http://thumbsup.in.th/2018/02/amazon-whole-foods-deliveries/
- Data and Picture from https://www.bloomberg.com/news/features/2017-09-06/this-high-tech-vertical-farm-promises-whole-foods-quality-at-walmart-prices
03 กุมภาพันธ์ 2561
ไทยพร้อมหรือยัง ? เมื่อ สตาร์ทอัพไฮเทค พากันพาเหรดเข้าสู่วงการเกษตร ทั่วโลก !!
ยุคแห่ง "เกษตรหุ่นยนต์" ใกล้เข้ามาแล้ว ! สตาร์ทอัพทั่วโลกเร่งพัฒนาเทคโนโลยี ดันเกษตรสู่ยุค 4.0
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่แข่งขันกันด้วยความเร็ว .. อุตสาหกรรมต่างๆ กำลังถูกล้มล้างพลิกผันอย่างรวดเร็ว (Disruption) ทุกวงการต่างถูกเทคโนโลยีถาโถมใส่ไม่ทันตั้งตัว จนแม้แต่อาชีพที่ว่ามั่นคงอย่างอาจารย์มหาวิทยาลัย ยังสั่นคลอน เกษตรกรรม ก็เช่นกัน .. ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ แล้วครับ !!
.
- อิสราเอลสร้าง 400 สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเกษตร ประเทศที่มีแต่ทะเลทราย แต่กลับมีความก้าวหน้าด้านเกษตรที่สุดในโลก จนประเทศไทยต้องเชิญมาสอนวิธีการใช้น้ำทางการเกษตรที่ถูกต้อง .. อิสราเอลได้ชื่อว่าเป็น Startup Nation เป็นประเทศแห่งสตาร์ทอัพ ที่สอนเด็กๆ ไม่ให้กลัวความล้มเหลว ทำให้ดินแดนเล็กๆ แห่งนี้ มีสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตมากกว่า 5,500 แห่ง โดย 3,500 แห่ง เป็นสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีขั้นสูง
.
- อิสราเอลมองว่า ในอนาคตเกษตรต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่เกษตร 4.0 เพื่อผลิตอาหารที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอจะเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้น และ รวยขึ้น .. ในประเทศอิสราเอลตอนนี้ มีสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีเกษตรมากถึง 400 แห่ง ที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมของทั้งโลก ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ได้แก่ เซนเซอร์ ไอโอที แพล็ตฟอร์มการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ การให้น้ำ การจัดการโรคและแมลง โดรนและหุ่นยนต์เกษตร การดูแลรักษาพืช จักรกลเกษตรอัจฉริยะ การเก็บเกี่ยว การจัดการตลาด ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการจัดการของเสีย ระบบเลี้ยงปศุสัตว์อัจฉริยะ ระบบสมาร์ทฟาร์ม
.
- ออสเตรเลียยังตั้งเป้า ที่จะสร้างฟาร์ม และ ไร่นา ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง (Automated Farming) ภายในปี ค.ศ. 2025 ออสเตรเลียมีภาคเกษตรที่เข้มแข็ง และ มีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงออกไปทั่วโลก สัดส่วนจีดีพีของภาคเกษตรออสเตรเลียมีมากถึง 12% ซึ่งอาจจะเพิ่มได้อีกด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีให้สุดล้ำไปเลย ทั้งนี้ ออสเตรเลียตั้งใจจะทำให้การผลิตพืชบางชนิด เข้าสู่ระบบอัตโนมัติทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2025 โดยมีหุ่นยนต์ทำงานในไร่นา เก็บเกี่ยว และ แปรรูปเบื้องต้น ทั้งหมด
.
- บริษัทวิจัยตลาด Tractica ประเมินว่าในปี ค.ศ. 2024 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดของหุ่นยนต์เพื่อเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนมีมูลค่าสูงถึง 73.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.6 ล้านล้านบาท เลยทีเดียวครับ ทั้งนี้ หุ่นยนต์ที่ทำงานแบบแทร็คเตอร์จะมีมูลค่าตลาด 30.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (1.1 ล้านล้านบาท) ในขณะที่โดรนเพื่อการเกษตร จะมียอดขายปีละ 4 แสนกว่าเครื่อง กันเลยทีเดียว
ยุคของฟาร์มและไร่นาที่ทำงานได้เอง กำลังมาถึงแล้วครับพี่น้อง !!
.
- บริษัทสตาร์ทอัพ BlueRiver Technology ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่กำลังวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการเกษตร ซึ่งจะเข้ามาช่วยทำงานในด้านการเพาะปลูก การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยว อย่างครบวงจรในอนาคต บริษัทนี้ได้ถูกยักษ์ใหญ่อย่าง จอห์นเดียร์ ซื้อไปในสนนราคา 1 หมื่นล้านบาท เมื่อปีที่แล้วนี่เองครับ
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data and from https://www.bloomberg.com/news/features/2018-01-11/this-army-of-ai-robots-will-feed-the-world
- Data and from http://www.farmindustrynews.com/technology/super-targeted-sprayer-getting-closer-market
- Picture from https://dipali27.blogspot.com/
- Data and Picture from http://www.takepart.com/feature/2016/11/28/ag-robots/
28 มกราคม 2561
สตาร์ทอัพฝรั่ง ทำฟาร์มอัตโนมัติเลี้ยงจิ้งหรีด - ใช้ ไอโอทีเซนเซอร์ และหุ่นยนต์ ดูแล
โปรตีนจากแมลงบูม ! สตาร์ทอัพฝรั่ง เริ่มอัพเกรดการเพาะเลี้ยง และการผลิต สู่ยุค 4.0
ในช่วงหลังๆ จะเห็นว่ามีสตาร์ทอัพในประเทศตะวันตกสนใจมาเพาะเลี้ยงแมลงมากขึ้น ทั้งในสหรัฐอเมริกา และในยุโรป รวมทั้งยังมีบริษัทสตาร์ทอัพของต่างชาติ เข้ามาทำฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลงในประเทศไทย เพื่อส่งออกไปยุโรปอีกด้วย
ที่สำคัญ หลังๆ เขาได้พัฒนาระบบเพาะเลี้ยงให้มีความเป็นอัตโนมัติ มากขึ้นครับ !
โดยบริษัท Aspire ได้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดแบบฟาร์มแนวดิ่ง (Vertical Farm) บนพื้นที่ 25,000 ตารางฟุต ผลิตจิ้งหรีดได้ 22 ล้านตัวต่อเดือน ซึ่งปรากฎว่ามีไม่พอขาย จึงต้องวางแผนขยายพื้นที่โรงงานเพิ่มเป็น 10 เท่าของตอนนี้ โดยตอนนี้ บริษัทได้หันมาใช้ระบบอัตโตมัติเพื่อดูแลการเพาะเลี้ยง ได้แก่
.
- ติดตั้ง เซนเซอร์ไอโทีรอบฟาร์ม เพื่อเก็บพารามิเตอร์การเพาะเลี้ยงต่างๆ โดยฟาร์มมีการทดลองปรับสูตรอาหารต่างๆ เพื่อดูปริมาณ และ คุณภาพของผลผลิต เช่น จำนวนโปรตีนที่ได้ ซึ่งต้องมีการทดลองจำนวนมาก ดังนั้น การติดตั้งเซนเซอร์ไอโอที จะช่วยทำให้ติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ 24 ชั่วโมง
- มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาสู่รูปแบบการเพาะเลี้ยงที่ดีที่สุด ได้กำไรมากที่สุด
- มีการนำหุ่นยนต์มาช่วยดูแล เช่น ให้อาหาร การเพาะไข่ การเก็บเกี่ยว
ล่าสุด บริษัทเป๊ปซี่ได้ให้ความสนใจในเรื่องของ โปรตีนที่มาจากแมลง ซึ่งทำให้ตอนนี้นักลงทุนในซิลิกอนวัลเลย์ ตื่นตัวมากขึ้นกับสตาร์ทอัพเลี้ยงแมลง และพร้อมโยนเงินลงมาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแมลงให้ก้าวไปสู่ยุค 4.0
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data and Picture from https://www.fastcompany.com/40454212/this-automated-cricket-farm-is-designed-to-make-bugs-a-mainstream-source-of-protein
- Data and Picture from http://myrssreader.com/automated-cricket-farm-bring-bug-based-food-masses/
23 มกราคม 2561
อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ระส่ำ !! จีนลงทุน หมื่นล้าน สตาร์ทอัพ "เนื้อสัตว์ปลูก" อิสราเอล
กระแสตื่นตัวเนื้อสัตว์ชนิดใหม่ ที่ไม่ต้อง "เลี้ยงแล้วฆ่า" เริ่มมาแรงเรื่อยๆ แล้วครับ มีทั้งเนื้อสัตว์ปลูก (in vitro meat) และ เนื้อสัตว์จากพืช (plant-based meat) ซึ่งเนื้อสัตว์แบบปลูกนั้น มีสตาร์ทอัพที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโลกนี้เพียง 8 แห่งเท่านั้น และ 3 ใน 8 แห่งนั้น อยู่ในประเทศอิสราเอล ที่เหลืออยู่ในยุโรป และ อเมริกา
.
ด้วยเหตุนี้ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องการเป็นผู้นำทุกด้านจึงฉุกคิดว่า เราจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ จีนจะต้องไม่ตกกระแส หน่วยงานของรัฐของจีนจึงไปทำข้อตกลงกับประเทศอิสราเอล เพื่อให้บริษัทของจีน และ สตาร์ทอัพของอิสราเอล ร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ปลูก และ การทำตลาดเนื้อสัตว์ชนิดนี้ในประเทศจีน ซึ่งนับวัน คนจีนจะบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี ค.ศ. 2016 มีการนำเข้าเนื้อสัตว์ประมาณ 3.2 แสนล้านบาท (1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) โดยรัฐบาลจีนก็ไม่ค่อยอยากให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องการลดภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์
.
ดังนั้น เนื้อสัตว์ปลูก จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ดั้งเดิม ซึ่งตลาดในจีนนั้น มีขนาดที่พร้อมจะทำให้เนื้อสัตว์ชนิดใหม่นี้เกิดขึ้น
.
"ถ้าคุณมีเนื้อสัตว์อยู่ 2 แบบให้บริโภคในท้องตลาด แบบแรกคุณต้องฆ่าชีวิตเขา กับอีกแบบหนึ่งซึ่งถูกกว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า และไม่ต้องฆ่าสัตว์ คุณจะลือกอะไร?" บทความของหน่วยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ตั้งคำถาม
.
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from https://futurism.com/china-signed-a-300-million-lab-grown-meat-deal-with-israel/
- Data from https://qz.com/1075989/china-wants-to-import-israels-vegan-meat-technology/
- Picture from https://pruskismarket.com/faqs/
- Picture from https://unitedwithisrael.org/good-news-israel-vegan-friendly-kosher-meat-may-save-the-planet/