28 กุมภาพันธ์ 2560

จีนสร้าง "วงแหวนเกษตร" รอบเมืองใหญ่ แหล่งอาหารคนเมืองอนาคต .. ไม่ต้องขนส่งไกลจากชนบท



จีนมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองเกินครึ่งมาหลายปีแล้วครับ ดังนั้นเรื่องการผลิตอาหารกำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของจีน จากแนวโน้มที่ประชากรจะย้ายจากชนบทมาอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้ง จำนวนเกษตรกรในชนบทก็จะลดลงเรื่อย ๆ

สิ่งที่จีนกำลังจะทำ เรียกว่า "แบบขนานใหญ่" ที่เกี่ยวกับการผลิตอาหารจะมี 2 เรื่องคือ

(1) การทำเกษตรให้ทันสมัย โดยใช้เครื่องจักรกล หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติมาทำงานแทนมนุษย์ หรือ เรียกว่าใช่ Robot Farmers มาทำงานในฟาร์มในชนบท

(2) สร้างระบบเกษตรกรรมในเมืองให้แข็งแกร่ง ให้เมืองเลี้ยงตัวเองได้ (Urban Farming) โดยไม่ต้องพึ่งพาอาหารจากการเพาะปลูกในชนบทอีกต่อไป

และสิ่งหนึ่งที่เมืองใหญ่ๆ ในจีนหลายๆ เมือง กำลังทำตอนนี้คือ .... การสร้าง "วงแหวนเกษตร" รอบเมือง คล้ายๆ กับการสร้างถนนวงแหวนนั่นหล่ะครับ ครับ แต่อันนี้จะเป็นพื้นที่เกษตร ที่โอบล้อมเมืองเอาไว้



ผมก็เคยไปดูที่เซี่ยงไฮ้ ... ขับรถออกจากเมืองมาประมาณ 10-20 กิโลเมตร ก็เป็นพื้นที่เกษตรกว้างใหญ่ไพศาลแล้ว !!!

วงแหวนเกษตร ของเค้าไม่ธรรมดานะ ! อย่างที่เซี่ยงไฮ้นี่ มีวงแหวนเกษตรขนาด 1.8 ล้านไร่ ผลิตไข่ไก่ได้เอง 100% รวมทั้งเนื้อไก่ และ นมด้วย

ส่วนผักผลิตได้ 80% เนื้อหมูอีก 50% เลย

ด้วยความมุ่งมั่น ... รัฐบาลจีนตั้งใจจะทำให้เมืองใหญ่ๆ เลี้ยงตัวเองได้ให้หมดในอนาคต !!!


..
อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเกษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ... https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to .....
- Data and Picture from http://www.designboom.com/architecture/new-urban-farming-in-china-3-22-2015/
- Picture from http://g.fastcompany.net/multisite_files/fastcompany/poster/2014/09/3035835-poster-p-1-this-new-chinese-mall-will-be-topped-with-an-urban-farm-for-neighbors.jpg

18 กุมภาพันธ์ 2560

เกษตรกรไทย ก็รวยได้ ไม่แพ้เกษตรกรในญี่ปุ่น !! มารู้จักเกษตรกรเชียงใหม่ เจ้าพ่อมันฝรั่ง




(ภาพ - พื้นที่บริเวณบ้านของเกษตรกรผู้ปลูกพืชหมุนเวียน มันฝรั่ง - ข้าวโพด - ข้าว แห่ง อ.สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีฐานะความเป็นอยู่ไม่แพ้เกษตรกญี่ปุ่น เลยทีเดียว)

วันนี้ ทีมงาน เกษตรอัจฉริยะ – Smart Farm จะพามารู้จัก คุณลุงบุญศรี ใจเป็ง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชไร่ภาคเหนือ พ.ศ.2553 ผู้ปลูกมันฝรั่งในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยพื้นที่กว่า 1500 ไร่



ดั้งเดิมคุณลุงและครอบครัว มีอาชีพเกษตรกร ทำนาข้าว และเริ่มปลูกมันฝรั่ง ตั้งแต่เด็กๆ ราวปี พ.ศ.2507 โดยมันฝรั่งที่ปลูกในประเทศไทยในสมัยนั้น เน้นการนำไปบริโภคสด เช่นการนำไปทำซุป ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นชาวต่างชาติ และทหารที่เข้ามาตั้งฐานทัพในไทย ในยุคเริ่มแรก การปลูกมันฝรั่ง ให้ผลผลิตเพียงแค่ 2-3 ตันต่อไร่เนื่องจากการปลูกมันฝรั่ง ต้องปลูกในสภาวะอากาศหนาว เพื่อให้หัวมันฝรั่งสะสมอาหารได้มากๆ ดังนั้น ในฤดูอื่นๆ จะใช้พื้นที่เพื่อการปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่นข้าว อ้อย เป็นการทำการเกษตรแบบหมุนเวียน

จากการสนับสนุน ค้นความ วิจัยอย่างต่อเนื่อง ของคุณลุงบุญศรี ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา ทำให้การปลูกมันฝรั่งเพิ่มผลผลิตเป็น 5-6 ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับการปลูกในต่างประเทศ

ตั้งแต่ พ.ศ.2532 เริ่มมีการตั้งโรงงานแปรรูปมันฝรั่งเป็นขนมขบเคี้ยว ภายใต้ยี่ห้อ เลย์ ของบริษัท เป๊บซี่-โค จำกัด ทำให้มีการขยายตลาดมันฝรั่งในประเทศไทย และรับซื้อมันฝรั่งจากเกษตรกรเป็นจำนวนมาก คุณลุงจึงหันมาปลูกมันฝรั่งเพื่อป้อนสู่โรงงานผลิตขนมขบเคี้ยวของ เป๊บซี่-โค ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ไม่ไกลออกไปนัก



ปัจจุบัน คุณลุงบุญศรี ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกมันฝรั่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับเตรียมดิน ปลูก และเก็บเกี่ยว  และในส่วนของการพัฒนาระบบรดน้ำ การให้ปุ๋ย พ่นยาฆ่าแมลงอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และคุ้มค่า

คุณลุงบุญศรี ใจเป็ง เล่าให้ฟังว่า “โดยทั่วไป การเพาะปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยนั้นมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 – 3 ตันต่อไร่ แต่สำหรับที่อำเภอสันทราย เราได้พัฒนา เรียนรู้และทดลองการเพาะปลูกร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี จนสามารถสร้างผลผลิตมันฝรั่งได้สูงถึง 5 ตันต่อไร่ ทั้งนี้ นอกเหนือจากความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อาทิ ดิน น้ำ อากาศ หัวพันธุ์ ปุ๋ย ตลอดจนเทคนิคและเทคโนโลยีการเพาะปลูกแล้ว อีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิต คือ การปลูกพืชหมุนเวียนที่เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาล อย่างมันฝรั่งเป็นพืชเมืองหนาว เราก็จะปลูกในช่วงหน้าหนาว จากนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จเราก็หันมาปลูกข้าวโพดในช่วงหน้าร้อน และพอถึงหน้าฝนเราก็ปลูกข้าว เวียนกันไปแบบนี้แทนที่จะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งระบบการปลูกพืชหมุนเวียนนี้ช่วยสร้างความสมดุลและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน  ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคในพืช ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการทำเกษตรกรรมด้วย”

(ภาพขวามือ - ขอบพระคุณ น้องตั้ม นักข่าวเพจเกษตรอัจฉริยะ สำหรับภาพ และ ข้อมูล ครับ)

12 กุมภาพันธ์ 2560

จีนไปแล้ว ! ทุ่ม 16 ล้านล้านบาท ปฏิรูปภาคเกษตรครั้งใหญ่ สู่ยุคเกษตรทันสมัย เกษตรกรอัจฉริยะ



สี จิ้นผิงประกาศ ... 2017 ปีแห่งการปฏิรูปภาคเกษตร ครั้งใหญ่ในจีน !
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ประกาศต่อคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์ว่า เขาจะผลักดันการปฏิรูปภาคเกษตรครั้งใหญ่ของจีน ในปี 2017 ที่จะถึงนี้ โดยจะทำให้ภาคเกษตรของจีนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น และ เป็นเครื่องจักรแห่งการเติบโตตัวใหม่ของเศรษฐกิจจีน
..
ล่าสุด รัฐบาลจีนเตรียมทุ่มเงินประมาณ 450 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 16 ล้านล้านบาท ผ่านธนาคารเพื่อพัฒนาการเกษตร เพื่อนำมาใช้ปฏิรูปการเกษตรของจีนให้ทันสมัย ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2020
..
ทั้งนี้ จีนได้ออกแผนปฏิบัติการ ปฏิรูปเกษตรกรรมนำสมัย เริ่มทำตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 - 2020 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เน้นสร้างนวัตกรรมในภาคเกษตส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภาคเกษตร ปฏิรูปการผลิตตั้งแต่ระดับไร่นา
- สนับสนุนให้เกิดสตาร์ทอัพทางด้านเกษตร ผู้ประกอบการใหม่ ส่งเสริมชาวชนบท เกษตรกร ให้สามารถทำธุรกิจได้
- เน้นเพิ่มคุณภาพผลผลิต ความปลอดภัย ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาคเกษตร ส่งเสริมเครื่องมือแก่ชาวไร่ชาวนา
- จะต้องมีไร่นาคุณภาพ 53 ล้านเฮกตาร์ หรือ 331 ล้านไร่ ภายในปี ค.ศ. 2020
- ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีแก่เกษตรกร รวมถึงเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
- การันตีพื้นที่เกษตรกรรมจะต้องไม่หดตัวต่ำกว่า 120 ล้านเฮกตาร์ หรือ 750 ล้านไร่
- เพิ่มความระมัดระวังเรื่องการใช้น้ำ โดยเฉพาะต้องรักษาระดับน้ำใต้ดิน
- ภายในปี ค.ศ. 2020 จะต้องมีป่าไม้ 23% โดยเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมกลับไปเป็นป่าไม้ (เพิ่มประสิทธิภาพแล้วก็ทำแบบนั้นได้)



อัพเดตความก้าวหน้าทางด้านเ
กษตรได้ทุกวัน กับ เพจเกษตรอัจฉริยะ ...https://www.facebook.com/smartfarmthailand/
Credit : Many Thanks to ....
- Data from http://www.shanghaidaily.com/business/economy/Supplyside-reform-for-agriculture-in-2017/shdaily.shtml
- Data from https://www.rt.com/business/359841-china-invest-billions-agriculture/

- Picture from http://news.xinhuanet.com/english/china/2014-07/26/133511417_14063297227831n.jpg