14 กันยายน 2558

ประเทศไทยเป็นครัวโลก จริงหรือ ?



คำพูดที่ว่า "ประเทศไทยเป็นครัวโลก" มันมีความเป็นจริงอยู่แค่ไหนครับ ลองไปดูข้อมูลกันนะครับ

- มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมอาหารของโลก = 225 ล้านล้านบาท (7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- ยอดขายของ 10 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารของโลก (เช่น เนสท์เล่ เป็ปซี่โค เป็นต้น) = 12.9 ล้านล้านบาท (0.401 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- ขนาดของ GDP ประเทศไทย = 12 ล้านล้านบาท (0.387 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- มูลค่าส่งออกอาหารจากประเทศไทย = 0.97 ล้านล้านบาท

ซึ่งแปลว่า มูลค่าการส่งออกอาหารของไทย มีอิทธิพลเพียง = 0.43% ของอุตสาหกรรมอาหารทั้งโลกเท่านั้นเองครับ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เราส่งออกวัตถุดิบเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าค่อนข้างน้อย ในขณะที่ประเทศที่นำเข้าอาหารของเรา เขาเอาไปพัฒนาต่อจนมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีอิทธิพลต่อห่วงโซ่มูลค่าในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างน้อยมากๆ ครับ ... เราจึงไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่ส่งออกอาหารของโลกเลยด้วยซ้ำ

Credit :
- Data from Behind the Brand Report
- Data from http://www.tradingeconomics.com/thailand/gdp
- Data from http://www.manager.co.th/ibizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152637
- Picture from http://savoringtimeinthekitchen.blogspot.com/2010/11/boiled-fresh-shrimp-from-galveston.html

13 กันยายน 2558

เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดน้ำ



Floating Sensor Networks เป็นเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดน้ำ เครือข่ายชนิดนี้ สามารถปล่อยให้ลอยไปกับน้ำได้ โดยมันจะอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการทำงาน มันจะเก็บข้อมูลต่างๆ ของน้ำ เช่น คุณภาพและความสะอาดของน้ำ 

Floating Sensor Networks นี้สามารถทำงานแบบเดี่ยวหรือทำงานเป็นฝูง (swarm) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำไปปล่อยลงน้ำ แล้วสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง (self-dependent) สามารถหาพลังงานใช้เองได้ และมีระบบขับเคลื่อนที่สามารถสั่งการให้ไปยังจุดใดจุดหนึ่งได้ สามารถทำงานได้ทั้งในแม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเลเปิด นาข้าว นากุ้ง โดยสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ได้หลายชนิด สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งในยามสงบ เช่น ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำทิ้ง ฟาร์มสัตว์น้ำ หรือในยามสงคราม เช่น ใช้เป็นทุ่นระเบิด เซ็นเซอร์ตรวจจับข้าศึก ใช้ในงานตรวจวัดช่วงน้ำท่วม หรือ มีอุบัติภัยเช่น น้ำมันรั่ว สารเคมีรั่วลงแหล่งน้ำ เป็นต้น 

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นไม่ได้ทำในบ่อเลี้ยงเหมือนแต่ก่อน แต่ไปเลี้ยงกันในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งในแม่น้ำ ทะเลสาบ และทะเล เทคโนโลยีนี้ สามารถนำไปใช้สำหรับสิ่งที่เรียกว่า Smart Aquaculture หรือฟาร์มสัตว์น้ำอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงสามารถตรวจวัดความเป็นไปต่างๆ ในน้ำจากระยะไกล ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต 


Credit - Pictures from 
http://today.lbl.gov/2012/07/30/lab-photograph-makes-doe-photo-of-the-week/
http://archive.deltacouncil.ca.gov/delta_science_program/publications/sci_news_0712_robots.html
https://www.nersc.gov/news-publications/news/science-news/2012/floating-robots-track-water-flow-with-smartphones/