14 กันยายน 2558

ประเทศไทยเป็นครัวโลก จริงหรือ ?



คำพูดที่ว่า "ประเทศไทยเป็นครัวโลก" มันมีความเป็นจริงอยู่แค่ไหนครับ ลองไปดูข้อมูลกันนะครับ

- มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมอาหารของโลก = 225 ล้านล้านบาท (7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- ยอดขายของ 10 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารของโลก (เช่น เนสท์เล่ เป็ปซี่โค เป็นต้น) = 12.9 ล้านล้านบาท (0.401 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- ขนาดของ GDP ประเทศไทย = 12 ล้านล้านบาท (0.387 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
- มูลค่าส่งออกอาหารจากประเทศไทย = 0.97 ล้านล้านบาท

ซึ่งแปลว่า มูลค่าการส่งออกอาหารของไทย มีอิทธิพลเพียง = 0.43% ของอุตสาหกรรมอาหารทั้งโลกเท่านั้นเองครับ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เราส่งออกวัตถุดิบเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าค่อนข้างน้อย ในขณะที่ประเทศที่นำเข้าอาหารของเรา เขาเอาไปพัฒนาต่อจนมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีอิทธิพลต่อห่วงโซ่มูลค่าในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างน้อยมากๆ ครับ ... เราจึงไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่ส่งออกอาหารของโลกเลยด้วยซ้ำ

Credit :
- Data from Behind the Brand Report
- Data from http://www.tradingeconomics.com/thailand/gdp
- Data from http://www.manager.co.th/ibizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152637
- Picture from http://savoringtimeinthekitchen.blogspot.com/2010/11/boiled-fresh-shrimp-from-galveston.html

13 กันยายน 2558

เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดน้ำ



Floating Sensor Networks เป็นเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดน้ำ เครือข่ายชนิดนี้ สามารถปล่อยให้ลอยไปกับน้ำได้ โดยมันจะอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการทำงาน มันจะเก็บข้อมูลต่างๆ ของน้ำ เช่น คุณภาพและความสะอาดของน้ำ 

Floating Sensor Networks นี้สามารถทำงานแบบเดี่ยวหรือทำงานเป็นฝูง (swarm) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำไปปล่อยลงน้ำ แล้วสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง (self-dependent) สามารถหาพลังงานใช้เองได้ และมีระบบขับเคลื่อนที่สามารถสั่งการให้ไปยังจุดใดจุดหนึ่งได้ สามารถทำงานได้ทั้งในแม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเลเปิด นาข้าว นากุ้ง โดยสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ได้หลายชนิด สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งในยามสงบ เช่น ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำทิ้ง ฟาร์มสัตว์น้ำ หรือในยามสงคราม เช่น ใช้เป็นทุ่นระเบิด เซ็นเซอร์ตรวจจับข้าศึก ใช้ในงานตรวจวัดช่วงน้ำท่วม หรือ มีอุบัติภัยเช่น น้ำมันรั่ว สารเคมีรั่วลงแหล่งน้ำ เป็นต้น 

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นไม่ได้ทำในบ่อเลี้ยงเหมือนแต่ก่อน แต่ไปเลี้ยงกันในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งในแม่น้ำ ทะเลสาบ และทะเล เทคโนโลยีนี้ สามารถนำไปใช้สำหรับสิ่งที่เรียกว่า Smart Aquaculture หรือฟาร์มสัตว์น้ำอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงสามารถตรวจวัดความเป็นไปต่างๆ ในน้ำจากระยะไกล ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต 


Credit - Pictures from 
http://today.lbl.gov/2012/07/30/lab-photograph-makes-doe-photo-of-the-week/
http://archive.deltacouncil.ca.gov/delta_science_program/publications/sci_news_0712_robots.html
https://www.nersc.gov/news-publications/news/science-news/2012/floating-robots-track-water-flow-with-smartphones/

28 พฤษภาคม 2558

Pinkhouse - โรงเรือนสีชมพู อนาคตของเกษตรโลก


เกษตรกรรมอาจจะแบ่งได้อย่างกว้าง เป็น 2 แบบครับคือ

(1) เกษตรกลางแจ้ง (Outdoor Farming) เป็นเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ
(2) เกษตรในร่ม (Indoor Farming) เป็นเกษตรในร่ม ในสิ่งปลูกสร้างที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม

ปกติเกษตรในร่มที่ทำกัน ก็มักจะทำในโรงเรือน (Greenhouse) ซึ่งใช้แสงธรรมชาติ แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เริ่มมีการนำเอาหลอดไฟ LED ที่ให้เฉพาะแสงช่วงที่พืชต้องการ คือสีแดง กับ สีฟ้า เมื่อมาผสมกันก็มักจะได้สีออกม่วงอมชมพู ทำให้โรงเรือนแบบนี้มีชื่อเรียกใหม่ เก๋ไก๋ว่า Pinkhouse ซึ่งจะมีข้อดีคือ

- หลอดไฟ LED ให้เฉพาะแสงในช่วงที่พืชต้องการ จึงประหยัดพลังงาน ไม่เกิดความร้อน

- พืชโตเร็วกว่าปกติ เพราะได้รับแสงที่ต้องการจริงๆ

- การใช้หลอดไฟ LED แทนแสงธรรมชาติ ทำให้สามารถเพาะปลูกแบบแนวดิ่งหรือ Vertical Farming ได้ ในขณะที่หากใช้แสงธรรมชาติ จะเกิดเงา ทำให้พืชที่อยู่ใต้ๆ ลงมาไม่ค่อยได้รับแสง แต่การใช้ LED สามารถออกแบบให้หลอด LED เข้าไปตามหลืบต่างๆ ได้

ผมเชื่อว่า เกษตรในเมือง (Urban Farming) ที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดเป็นฟาร์มในร่มที่น่าจะใช้โกดังตามชานเมือง มากกว่าที่จะเป็นการปลูกผักในอาคารสูง อย่างที่เป็นกระแสในสื่อต่างๆ ... แต่ถ้าหากเป็นในอนาคตยาวๆ ละก็ มันก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ

Credit :
- Data and Pictures from http://www.ledinside.com/news/2013/5/lednews_201305281350

22 พฤษภาคม 2558

น่าห่วง ! ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแรงงานหดตัว



น่าห่วง ! ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแร
งงานหดตัวครับ

ซึ่งหมายความว่า เราจะมีจำนวนผู้ใช้แรงงานลดลงเรื่อยๆ หลังจากปี ค.ศ. 2018 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ปัจจุบัน ประชากรในวัยทำงาน 100 คนต้องดูแลผู้สูงอายุ 10 คน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 16.5 คนในปี ค.ศ. 2020

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ... แต่ปัญหาคือ สองประเทศหลังที่กล่าวมาเป็นประเทศที่รวยครับ !!

ขอต้อนรับสู่ สังคมสูงวัยของไทย ... สังคมแก่ก่อนรวยครับ !!!

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก SCB Economic Intelligence Center (ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์)

Credit : Many Thanks to .....
- Data and Picture from www.scbeic.com